กะหล่ำปลี กินอย่างไรไม่ให้เกิดโทษ

Last updated: 1 ส.ค. 2567  |  613 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กะหล่ำปลี กินอย่างไรไม่ให้เกิดโทษ

ผักที่คนไทยคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอย่าง กะหล่ำปลี ที่บางคนอาจจเรียก กะหล่ำใบ ผักรูปร่างกลม มีหลากหลายสีตามแต่ละชนิด เช่น ใบสีเขียวอ่อน สีแดง และสีม่วง ที่จะนำมาตกแต่งจานอาหารก็ได้ หรือเอามาปรุงอาหารได้สารพัดเมนูก็ดี ด้วยความกรอบของกะหล่ำปลีรสชาติที่เมื่อต้มจะหวาน และอุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย ทำให้ผักชนิดนี้กลายเป็นผักที่คนนิยมรับประทานกันทั่วโลก 

สารอาหารใน กะหล่ำปลี 100 กรัม
อ้างอิงจาก fdc.nal.usda.gov

พลังงาน        25     กิโลแคลอรี่
โปรตีน          1.3     กรัม
คาร์โบไฮเดรต  5.8    กรัม
ไขมัน           0.1     กรัม
น้ำตาล         3.2     กรัม
ใยอาหาร       2.5     กรัม

โดยปกติแล้ว เรามักจะกินกะหล่ำปลี ทั้งในรูปแบบที่ผ่านการปรุงสุกและกินดิบ กินสด ๆ แกล้มอาหารรสจัดอย่างส้มตำ แหนม ซึ่งการทาน กะหล่ำปลีดิบ นั้น หลายคนก็บอกว่าทานได้ แต่มีงานวิจัยออกมาว่า การกินกะหล่ำปลีดิบนั้น ไม่ดีต่อสุขภาพ แล้วความจริงคือแบบไหนกันแน่นะ ?

 
กะหล่ำปลี ห้ามกินดิบ จริงหรือไม่ ?

หากเรากินกะหล่ำปลีดิบ เราจะได้รับสิ่งเหล่านี้เข้าไปในร่างกาย

  • วิตามิน C ที่สูงกว่าปกติ - วิตามินนี้จะแปรเปลี่ยนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มันจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย พร้อมบำรุงผิวพรรณให้ดูสุขภาพดี
  • ใยอาหารสูง - ช่วยทำให้อิ่มนานขึ้น จึงเหมาะกับคนที่กำลังคุมอาหาร และทำให้ระบบขับถ่ายดี แต่หากกินในปริมาณมากเกินพอดี จะทำให้ท้องอืดได้
  • กรด Tartaric (ทาทาริก) - ช่วยยับยั้งการเปลี่ยนแป้งและน้ำตาลให้กลายเป็นไขมันสะสม เหมาะกับคนที่กำลังคุมน้ำหนัก
  • สาร Goitrogen (กอยโตรเจน) - ตัวยับยั้งการทำงานและขัดขวางการสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ ผู้ป่วยหรือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับไทรอยด์จึงไม่ควรกิน กะหล่ำปลีดิบ 
  • สาร Oxalate (สารออกซาเลต) - จะไปจับอยู่ที่กรายไต เสี่ยงต่อการเป็นโรคนิ่ว


สรุปแล้วว่า เราสามารถกิน กระหล่ำปลีดิบ ได้ แต่ไม่ควรกินบ่อยหรือกินในปริมาณที่มากเกินไป ยกเว้นในผู้ที่ป่วยเป็นโรคตามที่ได้กล่าวไปนั่นเองค่ะ


เลือกกิน กะหล่ำปลี อย่างไรไม่ให้เกิดโทษ

1. ปรุงให้สุกก่อนกิน 
ไม่ว่าจะผ่านการต้ม ลวก นึ่ง ผัด การทำให้กะหล่ำปลีสุกก่อนกิน ความร้อนจากการปรุงอาหารจะช่วยละลายสาร Goitrogen ให้มีปริมาณน้อยลง แม้จะลดปริมาณวิตามินลงไปบ้างแต่หากเราเลือกวิธีการนึ่ง จะเป็นวิธีการปรุงสุกที่คงคุณค่าทางอาหารไว้มากที่สุด

2. ล้างผักให้สะอาด 
วิธีการล้าง กะหล่ำปลี ให้สะอาดและลดสารพิษตกค้างได้ถึง 60% นั่นคือ การใช้น้ำไหลผ่าน เป็นวิธีที่ง่ายแต่ต้องอาศัยความละเอียดในการชะล้างผักทีละใบให้สะอาด ก่อนที่จะนำไปปรุงอาหารต่อ หรือจะลอกกะหล่ำปลีออกทีละใบ แล้วแช่น้ำสะอาดไว้ราว ๆ 8-10 นาที ก็จะช่วยออมแรงไปได้

3. เลือกทานในปริมาณที่พอดี
อย่างที่ได้บอกไปว่า หากทานกะหล่ำปลีมากจนเกินไป อาจทำให้เกิดผลเสียกับร่างกายมากกว่าประโยชน์ เฉลี่ยแล้วใน 1 วันเราควรรับประทานกะหล่ำปลีไม่เกิน 100 กรัมร่วมกับผักชนิดอื่น ๆ เพื่อให้ได้รสสัมผัสที่หลากหลายและสารอาหารที่ดีต่อร่างกายอย่างครบถ้วน

การทาน กะหล่ำปลี มีทั้งประโยชน์และโทษที่คละกันไป แต่อย่างไรก็ตาม การทานกะหล่ำปลี อย่างถูกวิธีในปริมาณที่พอเหมาะ มันจะช่วยให้คุณได้รับประโยชน์จากสารอาหารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในกะหล่ำปลีได้โดยไม่เกิดโทษ พร้อมกับได้สุขภาพที่ดีตามไปด้วยค่ะ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้